แนะนำวีดีโอ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

การวิเคราะห์องค์กร

                      ภารกิจMission

                อยากให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมืองโบราณยุคสมัยเก่าและมีของชื้อขอฝาก
                ที่ขึ้นชื่อบ้านเชียง ไหลายบ้านเชียงและมีสิ้นค้าOTOPอีกมากมาย



                โครงร่างบริษัท ComProfile


            ชื่อ บ้านเชียงแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกอารยธรรม 5000 ปี


                ปีที่ก่อตั้ง   ปี พ ศ  2535 


             ลักษณะสิ้นค้า      สิ้นค้าขึ้นชื่อบ้านเชียง ไหลาย  กระจาด   ผ้าไหมและสิ้นค้าOTOPมากมาย



          การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอก


โอกาส- OPPor Tuning    เป็นการโปรโมทสถาที่ท่องเที่ยวที่พิพิธภัณท์สถานแห่งชาติบ้านเชียงและมีของฝากสิ้นค้าOTOP
                                                    ได้เลือกมากมายอัตลักษณ์เด่นขึ้นชื่อของบ้านเชียง  ไหลายคือที่มาบ้านบ้านเชียง

อุปสรรค   - Threats   ่     ขาดยานพาหนะไม่เข้าถึงเดินทางค่อนข้างลำบากและยังไม่เป็นที่พึ่งพอใจของนักท่อง  


     การวิเคราะห์สภาพกลยุทธ์  และทางเลือกของกลยุทธุ์


Strength  =  จุดแข็ง     -   บ้านเชียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง
                                             -    สิ้นค้าOTOPมีให้เลือกมากมายราคาพอเหมาะไม่แพงและสวยงาม
                                             -  ราคาพอเหมาะไม่แพง


Weak  =   จุดอ่อน     -  ขาดการกระจายข่าวหรือไม่โฆษณาสิ้นค้าที่ขึ้นชื่อบ้านเชียง
                                         -  ไม่ค่อยโปรโมทสถาที่ท่องเที่ยว
                                         -   ไม่ค่อยทำงานเป็นระบบเป็นแบบไม่ตรงตามความคาดหมาย


OPPor Tuning  =   โอกาส    -  ชุมชนบ้านเชียงเปิดให้นักท่องเที่ยวหัดเขียนลายไหต่างๆ

                                              -   องค์กรเปิดโอกาสให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียงทุก                                                                                                        เทศกาลฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย   
                                                       - บ้านเชียงเป้นแหล่งท่องเที่ยวพัฒนาไปเรื่อยๆและสร้างโอกาสให้เป้นองค์กร                                                                                 ที่ใหญ่และเป้นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อโด่งดังทั่วประเทศ


Threats   =  อุปสรรค            -  มีงบน้อยในการจัดงานหรือเทศกาลต่างๆก็ไม่เพียงพอต่อการบริหารงาน

                                                      - เครื่องมืออุปกรณ์ไม่ค่อยเพียงพอ


            วัตถุประสงค์         -   เพื่อให้คนมาท่องเที่ยวกันมากๆ
                                                     -อยากให้สิ้นค้าOTOPเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว

                                            -  อยากให้บ้านเชียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศว่ามีแหล่งท่องเที่ยว
                                                          และมีวัฒนธรรมมรดกโลก
                                                       -    อยากได้ผลตอบรับนักท่องเที่ยวที่มาและนำไปบอกเล่าต่อกาล

           แผน Plans             -  ตั้งเป้าให้นักท่องเที่ยวมาเยอะๆโดยการปรับปรุงและพัฒนาที่อยู่แหล่งท่อเที่ยว
                                                     -  วางแผนไว้ให้เป้นที่นิยมว่าบ้านเชียงก้มีของดีและแหล่งท่องเที่ยว
                                                    -  ผลิตสิ้นค้าOTOPให้ตรงตามความต้องการลูกค้า
                                                    -  วางแผนงานโดยเป็นระบบสร้างความดึงดูดให้แก่นักท่องเที่ยว


นโยบาย = Policies       -  บ้านเชียงแหล่งมรดกโลกและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอยากเชิญชวนให้มาเที่ยวชมและชื้อของสิ้น                                                 ค้าOTOPและใครที่ไม่ได้มาฝากติดตามได้ทุกช่องทาง Facebook  เพจ   เบอร์โทรศัพท์แผนที่                                                        ไลน์   ทวิตเตอร์  เป็นต้น



       การปฎิบัติงานตามกลยุทธุ์  Statcgy  implemen
   
                         -  จะสร้างความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวและนำสิ่งแปลกให้มาพัฒนา
                              -   สร้างแบรน์สิ้นค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคและความพึ่งพอใจ
                              - จะนำสิ้นค้าOTOPทำขึ้นเรื่อยๆหลากหลายรูปแบบให้หน้าสนใจและสวยงาม



วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

งานบุญทอดเทียน

        งานบุญทอดเทียน






วันที่อาทิตย์ 24 กันยายน  พศ2559 
                               ทำบุญทอดเทียนโรงทาน ณ บ้านดงย็น  ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน   จังหวัดอุดรธานี
                          นํ้าเฉาก้วย  ข้าวต้ม  ข้าราดแกง  อีกมากมายต่างๆ
                        มีการนำต้นเงินคณะชาวบ้านอื่นระแวงไกล้เคียงนำมาทำบุญเพื่อสร้างวัดและร่วมบริจาคอีกมาก                            มายเลือกทานกันและมีหลายหมู่บ้านมา ร้องสารพันยะ  แข่งขันแต่ละหมู่บ้าน






วิธีทำข้าวปลาส








วีดีโอการฟ้อนรำงานบุญทอดกระฐิน



























วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

สถานที่ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง

สถานที่ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง





 เมื่อพูดถึง บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี หลายคนคงนึกถึงสถานที่ได้ร่ำเรียนในประวัติศาสตร์ แต่มีหลายคนยังไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับบ้านเชียง วันนี้กระปุกท่องเที่ยวเลยขอเสนอเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง ส่วนที่นี่จะมีความสำคัญกับประวัติศาสตร์อย่างไร
และมีอะไรที่เราควรรู้และศึกษาจากแหล่งท่องเที่ยวนี้บ้างค่ะ



          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง หรือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่เศษ จัดแสดงวิถีชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 5,000-1,400 ปีมาแล้ว และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปีอีกด้วย 





















ซึ่งร่องรอยของมนุษย์สมัยก่อนจะแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วใน หลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อาทิ เครื่องมือในการดำรงชีวิต และการสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ที่ครอบคลุมไปถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง โดยมีหลักฐานอ้างอิงถึงการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นของมนุษย์มาหลายพันปี








 นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ ทำจากวัสดุนานาชนิดที่ช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องสังคมและเทคโนโลยี การขุดค้นที่บ้านเชียงยังพบกระดูกสัตว์ชนิดต่าง ๆ และเปลือกหอยด้วย ซึ่งทำให้เข้าใจและอธิบายถึงวิถีทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ โดยหลักฐานที่พบ คือ การขวานทำจากเหล็กและกระดูกควาย ก็สรุปได้ว่ามนุษย์รู้จักการทำนาในที่ลุ่ม และมีการไถนาแล้วเมื่อ ราวเกือบ 3 พันปีมาแล้ว รวมทั้งกระดูกสัตว์ต่าง ๆ และเปลือกหอยหลายชนิด โดยนักโบราณคดีสามารถจำแนกโครงกระดูกของสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่ถูกล่ามาเป็นอาการได้เลยจากหลักฐานดังกล่าวค่ะ









   สำหรับใครที่ยังไม่เคยเดินทางไปเที่ยวที่บ้านเชียงลองแวะเข้าไปชมโบราณคดีที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ได้ทุกวันเลยค่ะ          เผื่อไว้สำหรับวันหยุดพักผ่อนภายในครอบครัว

     อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
     ที่อยู่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 13 ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัด  
            อุดรธานี 41320 

     โทรศัพท์ : 0 4220 8340 โทรสาร : 0 4220 8341

     เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. (ปิดทุกวันจันทร์)












    การเดินทาง

           การเดินทางไป พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง มีความสะดวก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์แล้วล่ะค่ะ


           สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล สามารถเดินทางจากสถานีขนส่งเก่าของจังหวัด (เยื้องกับห้างสรรพสินค้าเซนทรัล) โดยโดยสารรถขนส่งประจำทาง อุดรธานี-บ้านดุง, อุดรธานี-สกลนคร, อุดรธานี-บึงกาฬ มายังสี่แยกหนองเม็กเพื่อต่อมอเตอร์ไซต์รับจ้าง หรือรถสามล้อรับจ้างเข้าสู่แหล่งโบราณคดี



















วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

เอกลักษณ์การแต่งการบ้านเชียง





ชุดไทพวน



     การแต่งกาย

 ในอดีตผู้หญิง ใช้ผ้าคาดอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือ สีพื้นแทรกลายขวาง บางท้องถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ 
ผู้ชายนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำใส่เสื้อสีดำ และผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่า หรือคาดเอวผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าขาวม้ารัดนม เรียกว่า แห้งตู้ 
ทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไปไร่นาต้องสวมเสื้อสีดำ หรือสีคราม หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึงข้อมือกระดุมเสื้อใช้เงินกลมลงมา

        ทรงผม

ชายหญิงเมื่อโกนผมไฟ แล้วหญิงจะไว้ผมจุก พออายุ ๑๔-๑๖ ปีจะไว้ผมยาว ทรงผมของชาวไทพวน จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงสถานภาพของแต่ละคน เช่น ผู้หญิงที่เป็นสาวรุ่นจะไว้ผมทรงผูกผม คือ รวบผมมารวมกันไว้ตรงกลางศีรษะ แล้วใช้เชือกผูกผมไว้ ปล่อยผมยาวไปตามลำตัว เอาหนามเม่นแข็งกลัดไว้ตรงกลางศีรษะ เมื่ออายุ ๑๘-๑๙ ต้องไว้ทรงโค้งผม คือหยิบเอาผมที่ปล่อยลงไปมาทำเป็นรูปโค้ง พออายุ ๒๐ ปีขึ้นไปจะต้องนำผมมาขมวดเป็นกระจุกไว้ที่กลางศีรษะ เรียกว่า เกล้าจุกกระเทียม และต้องปักหนามเม่น เมื่อแต่งงานแล้วจะไว้ผมยาวเกล้ามวยไว้ด้านหลัง ส่วนชายจะโกนผมจนเป็นหนุ่มจึงไว้ผมยาว 




ชาวไทพวนนั้นมีความเชื่อเรื่องผี เรื่องการเข้าทรง อย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะที่บ้านกลาง ยังมีร่างทรงนางเทียม ทำหน้าที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน ประเพณีที่ชาวไทพวนปฏิบัติสืบต่อกันมาคือ งานบุญกำฟ้า ซึ่งแต่ละบ้านจะกำหนดต่างกันมักจะอยู่ในระยะเวลา ๓ เดือนก่อนลงมือทำนา คือ เดือนอ้ายขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำ หรือเดือน ๓ ขึ้นค่ำ หรือเมื่อฟ้าร้องครั้งแรกในเดือนสาม คำว่า กำ หมายถึง การถือ การ เคารพ การกำฟ้า จึงเป็นการเคารพฟ้า จะทำกันในเดือน๓ ขึ้น ๓ ค่ำ เรียกว่าวัน กำเต็มมื้อ หรือ วันกำเต็มวัน ชาวบ้านจะหยุดทำงาน งดใช้วัวควายไม่ผ่าฟืนไม่ทำเสียงดัง หรือเสียงอึกทึก เพราะเชื่อว่าถ้าทำเช่นนั้นฟ้าจะไม่พอใจ จะดลบันดาลให้ฝนแล้งพืชผลไม่ดี วันสุกดิบก่อนวันกำเต็มวัน คือวันขึ้น ๒ ค่ำ ชาวบ้านจะช่วยกันเตรียมสถานที่และของที่จะทำบุญ เดิมประเพณีของที่จะทำเตรียมไปทำบุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้นได้แก่ ข้าวปุ้น หรือขนมจีน น้ำยาน้ำพริก และข้าวจี่ แต่มาระยะหลังเปลี่ยนมาเป็นเผาข้าวหลามแทน ชาวบ้านช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ทำข้าวหลาม และข้าวจี่ ได้แก่ขูดมะพร้าว คั้นกะทิ แช่ข้าวเหนียว ตัดไม้ไผ่ เตรียมทำใส่ข้าวจี่ เหมือนการทำบุญข้าวจี่เดือนอ้าย เตรียมปลูกโรงโรงพิธีพราหมณ์ เตรียม เครื่องบายศรี เครื่องเซ่น เสร็จช่วงเช้ากลับบ้าน อาบน้ำแต่งตัวมาร่วมประกอบพิธีในตอนบ่าย 












ปัจจุบันการทอผ้าของชาวไทพวนในชุมชนต่างๆ กำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤตมีความเสี่ยงต่อการสูญหายอันสืบเนื่องมากจากผู้สืบทอดในการทอผ้าในชุมชนเข้าสู่วัยสูงอายุและเลิกอาชีพการทอผ้านี้ไปประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่และสิ่งถักทอรุ่นใหม่ที่ผลิตในระบบโรงงานเริ่มคืบคลานขยายตัวเข้ามาสู่ชุมชนซึ่งเข้ามาแทนที่ผ้าทอแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังขาดระบบการจัดการและการจัดเก็บองค์ความรู้ที่ดี หน่วยงานของภาครัฐยังมิได้ให้ความช่วยสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอและขาดการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง บางชุมชนได้เลิกวิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิมหันไปใช้วิธีการทอผ้าแบบการยกตะกอลอยแทนกรรมวิธีแบบเก่าที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ บางชุมชนเลิกการใช้เส้นฝ้ายจากธรรมชาติหันไปใช้ด้ายโรงงานแทนซึ่งเป็นการขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทอผ้าอันเป็น
อัตลักษณ์ที่สำคัญของตนไป













ผ้าทอของชาวไทพวนถือเป็นมรดกภูมิปัญญาที่ชาวไทพวนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่นมีเอกลักษณ์และลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ มีกรรมวิธีในการผลิตและวิธีการต่างๆ ที่ละเอียดอ่อนงดงามทั้งทางด้านการกำหนดลวดลาย สีสันที่โดดเด่นสะดุดตา ลวดลายต่างๆ ล้วนประณีตละเอียดอ่อนทั้ง กรรมวิธี การมัดหมี่ การควบเส้น การขิด การจก และการแต้มสี ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของผ้าทอของชาวไทพวนอย่างแท้จริง ลวดลายบนผ้านุ่งที่ชาวไทพวนนุ่งนั้นล้วนแฝงด้วยคติความเชื่อในจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของตนเองที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายายมาสู่รุ่นพ่อแม่และถึงรุ่นลูกหลานนานนับเวลาเกือบ ๒๐๐ ปี ที่สำคัญได้แก่ วัฒนธรรมผ้าทอของกลุ่มไทพวนอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี กลุ่มนี้มีความชำนาญในการทอผ้ามัดหมี่ จำแนกได้เป็น ผ้าซิ่นหมี่เปี่ยง ผ้าซิ่นหมี่โลดหรือหมี่รวด ผ้าซิ่นหมี่ย้อยหรือหมี่หยอด ผ้าซิ่นล่ายหรือหมี่ถี่ ผ้าซิ่นหมี่คั่นและผ้าซิ่นหมี่หญ้าหัด หรือหมี่หนูแอ้น ผ้าซิ่นทั้ง ๖ ชนิด นิยมต่อหัวซิ่นด้วยสีแดง สีเหลืองสลับเขียว อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผ้าทอของชาวไทพวนตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มนี้มีความชำนาญในการจกและการเก็บขิดลงบนผืนผ้า ทั้งนี้ จะใช้วิธีการจกด้านหน้าของผ้า ปล่อยให้ด้านหลังนุงนังไม่เรียบร้อย และจะใช้คู่สีมากกว่า ๕ สีขึ้นไป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสีที่สดใสฉูดฉาด ลวดลายที่จกจำแนกได้เป็น ลายหลัก ซึ่งจะวางไว้ในตำแหน่งกึ่งกลางของผ้าจก และลายประกอบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นลายประกอบบนเชิงผ้าจก



















วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

ของฝากของที่ระลึกOTOP

                                                       
                         
                           ของฝากและของที่ระลึกOTOP














                                                                  ในปัจจุบันมีหมู่บ้านกระจายอยู่ทั่วไป  เป็นหมู่บ้านกลางเก่า  กลางใหม่ ที่มาตั้งบ้านเรือนในช่วง  50-80  ปีที่ผ่านมาแต่ยังคงความเป็นชนบทยิ่งกิจกรรมที่ชาวบ้านยังคงปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่องนับ  10  ปี ตั้งแต่มีการขุดพบชุมชนโบราณคือ ดินเผาในแบบของ บ้านเชียงได้สร้างลักษณะเฉพาะให้กับหมู่บ้านเป็นอย่างมากและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเป็นที่มาและจุดเริ่มของผลิตภัณฑ์ OTOPในเอกลักษณ์ของบ้านปูลูบ้านคำอ้อและบ้านเชียงอำเภอหนองหานจังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้จัดทำของทีระลึกเครื่องปั้นดินเผาอาหาร  เช่น หม้อ ไหแจกันรูปแบบต่างๆ กระจาดผลไม้ พวงกิญแจ กระติบข้าวที่มีลายเลียนแบบเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดค้นพบบริเวณบ้านเชียงจำหน่ายให้แก่นท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนในแต่ละวัน
เป็นสิ้นค้าที่นำออกจากประเทศไทย





                                     อาหารและขนมของฝาก









          อาหารและขนมขึ้นชื่อสามารถนำมาเป็นของฝากต่างต่างจังหวัดหรือรับทานที่ร้านก็ตามลุกค้าที่สนใจเป็นอาชีพเสริมและหารายได้แกชุมชนบ้านเชียงแหล่งเมืองมรดกโลกจัดขึ้นในรอบละหนึ่งครั้งมีหลายอย่างที่มีเลือกชมชิมรับประทาน รับประกันความอร่อย ปลอดภัย สะอาดและเป็นสิ้นค้าขายดีมีรายได้มากมายสามารถชื้อเป็นของฝากกลับไปรับประทานอาหารที่บ้านได้ตามใจชอบ ราคาไม่แพง อร่อย ไหม่สด  ถูกใจคนทาน


                                         ผลิตภัณฑ์


ประวัติความเป็นมา

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552

ความสัมพันธ์กับชุมชน


ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาลายบ้านเชียง
ที่อยู่ 88 13 - - ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41130
 09 9408459
 -

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

นายเสริม ธำรงค์รัตน์
ที่อยู่ 88 13 - - ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41130
 09 9408459
 -

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์


เครื่องปั้นดินเผาลายบ้านเชียง
88 หมู่ 13 ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41130 
ติดต่อ : นายเสริม ธำรงค์รัตน์
โทร : 09 9408459








บ้านเชียง

            บ้านเชียง 
                                                       


                                                              ประวัติความเป็นมา

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Site) เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม สังคม และวิชาการของมนุษย์ รวมทั้งแสดงหลักฐานของการเกษตรกรรม แหล่งผลิตและการใช้โลหะในภูมิภาค ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า 4,300 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็น บริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่ง หนึ่งในบรรดามรดกโลก

ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ


แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนเนินดินสูง รูปยาวรี ตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ กลางเนินสูงกว่าพื้นที่รอบ ๆ ราว 8 เมตร ราษฎรชาวบ้านเชียงในปัจจุบันมีเชื้อสายลาวพวนที่อพยพเคลื่อนย้ายชุมชนมาจากแขวงเชียงขวางประเทศลาว เมื่อ 200 ปีมาแล้ว








ความสำคัญ


ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างแก่ชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลก ด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมหาศาลได้รับการวิเคราะห์แปลความ  โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการ แต่อย่างไรก็ตามแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้ถูกลักลอบขุดค้น และซื้อขายในตลาดมืดกันอย่างมากมาย โดยทางราชการก็ได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พุทธ-ศักราช 2535 รวมถึงประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 189 ที่ห้ามการขุดค้นในพื้นที่บ้านเชียงและบริเวณโดยรอบ ปัจจุบันชุมชนบ้านเชียง ได้มีขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จึงต้องเร่งกำหนดขอบพื้นที่ที่ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อรักษาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มิให้ถูกทำลายหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญแห่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดต่ออนุชนรุ่นหลังต่อไป





                      
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จาก การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ดังนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้วแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆด้านโดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานวัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวัน-ออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่ง หนึ่งในบรรดามรดกโลก




















    ด้านวัฒนธรรม

 วัฒนธรรมบ้านเชียง จึงนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานนับพันๆ ปี โดยมีการพัฒนาการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้าน รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่เริ่มแรกคือเมื่อประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว รวมทั้งมีการจัดระบบเช่น การฝังศพเป็นประเพณีสืบทอดต่อ ๆ กันมาหลายสมัย นับเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเรื่องการจัดระบบสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เช่น "การผลิตภาชนะดินเผาด้วยฝีมือระดับสูง",การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ" โดยเป็นการประดิษฐ์คิดค้นที่มีวิธีการเป็นของวัฒนธรรมบ้านเชียงเอง มิได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียตามที่เคยเข้าใจกัน

 ด้านเศรษฐกิจ

 ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยบนเนินดินบ้านเชียงเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ปีมาแล้วนั้น เป็นกลุ่มชนที่พัฒนาแล้วมีเทคโนโลยีการทำภาชนะดินเผามีการเลี้ยงสัตว์บางชนิด ได้แก่  วัว  หมู  หมา  และไก่รวมทั้งยังทำการเพาะปลูกข้าวแล้วการเพาะปลูกข้าวของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรกๆที่บ้านเชียงนั้นคงจะเป็นการทำนาหว่านในที่ลุ่มมีน้ำขังต่อมาในสมัยหลังราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วจึงอาจพัฒนามาทำการเพาะปลูกข้าวโดยการทำนาดำในแปลงนาข้าวที่ต้องไถพรวนเตรียมไว้นอกเหนือจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้วคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงยังคงทำการล่าสัตว์ป่าและสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น เก้ง กวาง สมัน เสือ แรด หมูป่า นิ่ม ชะมด พังพอน นาก กระรอก กระต่าย จระเข้ เต่า ตะพาบ กบ ปลาดุก ปลาช่อนและหอยหลายชนิดจากหลักฐานทางด้านโลหกรรมที่บ้านเชียงพบว่าสำริดเป็นโลหะผสมระหว่าทองแดและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติในบริเวณบ้านเชียงดังนั้นช่างสำริดที่บ้านเชียงจึงต้องได้โลหะทั้งสองชนิดนี้มาจากชุมชนอื่นอันแสดงให้เห็นว่าการติดต่แลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างชุมชนอื่นๆที่อยู่ห่างไกลออกไปนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว

 ด้านสังคม

  ร่องรอยของหลุมเสาบ้านที่พบชี้ให้เห็นว่าชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนั้น ประกอบด้วย บ้านใต้ถุนสูงผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลูกร่วมอยู่กันเป็นหมู่บ้านถาวรบนเนินดินสูงที่ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มในด้านสังคมนี้คงจะมีผู้ชำนาญงานหรือช่างฝีมือในงานเฉพาะด้านบางด้านอยู่ด้วยอย่างน้อยก็พบหลักฐาว่าในระยะแรกมีนายพรานผู้ชำนาญการล่าสัตว์มีช่างทำภาชนะดินเผาและในระยะหลังมีช่างโลหะสำริดและช่างเหล็กเพิ่มขึ้นมาหลุมฝังศพหลายหลุมที่ได้พบว่ามีสิ่งของ เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ ฝังอยู่ด้วยในปริมาณที่ต่างกันรวมทั้งเป็นของที่มีค่าต่าง กันแสดงให้เห็นว่าในสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงน่าจะประกอบด้วย









กระจาดผลไม้

กระจาดผลไม้         คุณยายทองคาย ถึงปัดชา วัย 73 ปี เป็นคนชุมชน บ้านดงเย็น ต บ้านเชียง อ หนองหาน จ อุดรธานีแต่เดิมคุณยายมีอา...

เอกลักษณ์การแต่งกายคนบ้านเชียง