เอกลักษณ์การแต่งการบ้านเชียง
ชุดไทพวน
การแต่งกาย
ในอดีตผู้หญิง ใช้ผ้าคาดอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือ สีพื้นแทรกลายขวาง บางท้องถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่
ผู้ชายนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำใส่เสื้อสีดำ และผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่า หรือคาดเอวผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าขาวม้ารัดนม เรียกว่า แห้งตู้
ทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไปไร่นาต้องสวมเสื้อสีดำ หรือสีคราม หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึงข้อมือกระดุมเสื้อใช้เงินกลมลงมา
ทรงผม
ชายหญิงเมื่อโกนผมไฟ แล้วหญิงจะไว้ผมจุก พออายุ ๑๔-๑๖ ปีจะไว้ผมยาว ทรงผมของชาวไทพวน จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงสถานภาพของแต่ละคน เช่น ผู้หญิงที่เป็นสาวรุ่นจะไว้ผมทรงผูกผม คือ รวบผมมารวมกันไว้ตรงกลางศีรษะ แล้วใช้เชือกผูกผมไว้ ปล่อยผมยาวไปตามลำตัว เอาหนามเม่นแข็งกลัดไว้ตรงกลางศีรษะ เมื่ออายุ ๑๘-๑๙ ต้องไว้ทรงโค้งผม คือหยิบเอาผมที่ปล่อยลงไปมาทำเป็นรูปโค้ง พออายุ ๒๐ ปีขึ้นไปจะต้องนำผมมาขมวดเป็นกระจุกไว้ที่กลางศีรษะ เรียกว่า เกล้าจุกกระเทียม และต้องปักหนามเม่น เมื่อแต่งงานแล้วจะไว้ผมยาวเกล้ามวยไว้ด้านหลัง ส่วนชายจะโกนผมจนเป็นหนุ่มจึงไว้ผมยาว
ชาวไทพวนนั้นมีความเชื่อเรื่องผี เรื่องการเข้าทรง อย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะที่บ้านกลาง ยังมีร่างทรงนางเทียม ทำหน้าที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน ประเพณีที่ชาวไทพวนปฏิบัติสืบต่อกันมาคือ งานบุญกำฟ้า ซึ่งแต่ละบ้านจะกำหนดต่างกันมักจะอยู่ในระยะเวลา ๓ เดือนก่อนลงมือทำนา คือ เดือนอ้ายขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำ หรือเดือน ๓ ขึ้นค่ำ หรือเมื่อฟ้าร้องครั้งแรกในเดือนสาม คำว่า กำ หมายถึง การถือ การ เคารพ การกำฟ้า จึงเป็นการเคารพฟ้า จะทำกันในเดือน๓ ขึ้น ๓ ค่ำ เรียกว่าวัน กำเต็มมื้อ หรือ วันกำเต็มวัน ชาวบ้านจะหยุดทำงาน งดใช้วัวควายไม่ผ่าฟืนไม่ทำเสียงดัง หรือเสียงอึกทึก เพราะเชื่อว่าถ้าทำเช่นนั้นฟ้าจะไม่พอใจ จะดลบันดาลให้ฝนแล้งพืชผลไม่ดี วันสุกดิบก่อนวันกำเต็มวัน คือวันขึ้น ๒ ค่ำ ชาวบ้านจะช่วยกันเตรียมสถานที่และของที่จะทำบุญ เดิมประเพณีของที่จะทำเตรียมไปทำบุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้นได้แก่ ข้าวปุ้น หรือขนมจีน น้ำยาน้ำพริก และข้าวจี่ แต่มาระยะหลังเปลี่ยนมาเป็นเผาข้าวหลามแทน ชาวบ้านช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ทำข้าวหลาม และข้าวจี่ ได้แก่ขูดมะพร้าว คั้นกะทิ แช่ข้าวเหนียว ตัดไม้ไผ่ เตรียมทำใส่ข้าวจี่ เหมือนการทำบุญข้าวจี่เดือนอ้าย เตรียมปลูกโรงโรงพิธีพราหมณ์ เตรียม เครื่องบายศรี เครื่องเซ่น เสร็จช่วงเช้ากลับบ้าน อาบน้ำแต่งตัวมาร่วมประกอบพิธีในตอนบ่าย
ปัจจุบันการทอผ้าของชาวไทพวนในชุมชนต่างๆ กำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤตมีความเสี่ยงต่อการสูญหายอันสืบเนื่องมากจากผู้สืบทอดในการทอผ้าในชุมชนเข้าสู่วัยสูงอายุและเลิกอาชีพการทอผ้านี้ไปประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่และสิ่งถักทอรุ่นใหม่ที่ผลิตในระบบโรงงานเริ่มคืบคลานขยายตัวเข้ามาสู่ชุมชนซึ่งเข้ามาแทนที่ผ้าทอแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังขาดระบบการจัดการและการจัดเก็บองค์ความรู้ที่ดี หน่วยงานของภาครัฐยังมิได้ให้ความช่วยสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอและขาดการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง บางชุมชนได้เลิกวิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิมหันไปใช้วิธีการทอผ้าแบบการยกตะกอลอยแทนกรรมวิธีแบบเก่าที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ บางชุมชนเลิกการใช้เส้นฝ้ายจากธรรมชาติหันไปใช้ด้ายโรงงานแทนซึ่งเป็นการขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทอผ้าอันเป็น
อัตลักษณ์ที่สำคัญของตนไป
ผ้าทอของชาวไทพวนถือเป็นมรดกภูมิปัญญาที่ชาวไทพวนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่นมีเอกลักษณ์และลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ มีกรรมวิธีในการผลิตและวิธีการต่างๆ ที่ละเอียดอ่อนงดงามทั้งทางด้านการกำหนดลวดลาย สีสันที่โดดเด่นสะดุดตา ลวดลายต่างๆ ล้วนประณีตละเอียดอ่อนทั้ง กรรมวิธี การมัดหมี่ การควบเส้น การขิด การจก และการแต้มสี ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของผ้าทอของชาวไทพวนอย่างแท้จริง ลวดลายบนผ้านุ่งที่ชาวไทพวนนุ่งนั้นล้วนแฝงด้วยคติความเชื่อในจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของตนเองที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นปู่ย่าตายายมาสู่รุ่นพ่อแม่และถึงรุ่นลูกหลานนานนับเวลาเกือบ ๒๐๐ ปี ที่สำคัญได้แก่ วัฒนธรรมผ้าทอของกลุ่มไทพวนอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี กลุ่มนี้มีความชำนาญในการทอผ้ามัดหมี่ จำแนกได้เป็น ผ้าซิ่นหมี่เปี่ยง ผ้าซิ่นหมี่โลดหรือหมี่รวด ผ้าซิ่นหมี่ย้อยหรือหมี่หยอด ผ้าซิ่นล่ายหรือหมี่ถี่ ผ้าซิ่นหมี่คั่นและผ้าซิ่นหมี่หญ้าหัด หรือหมี่หนูแอ้น ผ้าซิ่นทั้ง ๖ ชนิด นิยมต่อหัวซิ่นด้วยสีแดง สีเหลืองสลับเขียว อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผ้าทอของชาวไทพวนตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มนี้มีความชำนาญในการจกและการเก็บขิดลงบนผืนผ้า ทั้งนี้ จะใช้วิธีการจกด้านหน้าของผ้า ปล่อยให้ด้านหลังนุงนังไม่เรียบร้อย และจะใช้คู่สีมากกว่า ๕ สีขึ้นไป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสีที่สดใสฉูดฉาด ลวดลายที่จกจำแนกได้เป็น ลายหลัก ซึ่งจะวางไว้ในตำแหน่งกึ่งกลางของผ้าจก และลายประกอบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นลายประกอบบนเชิงผ้าจก
อัตลักษณ์ที่สำคัญของตนไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น