แนะนำวีดีโอ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

บ้านเชียง

            บ้านเชียง 
                                                       


                                                              ประวัติความเป็นมา

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Site) เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม สังคม และวิชาการของมนุษย์ รวมทั้งแสดงหลักฐานของการเกษตรกรรม แหล่งผลิตและการใช้โลหะในภูมิภาค ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า 4,300 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็น บริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่ง หนึ่งในบรรดามรดกโลก

ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ


แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนเนินดินสูง รูปยาวรี ตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ กลางเนินสูงกว่าพื้นที่รอบ ๆ ราว 8 เมตร ราษฎรชาวบ้านเชียงในปัจจุบันมีเชื้อสายลาวพวนที่อพยพเคลื่อนย้ายชุมชนมาจากแขวงเชียงขวางประเทศลาว เมื่อ 200 ปีมาแล้ว








ความสำคัญ


ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างแก่ชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลก ด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมหาศาลได้รับการวิเคราะห์แปลความ  โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการ แต่อย่างไรก็ตามแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้ถูกลักลอบขุดค้น และซื้อขายในตลาดมืดกันอย่างมากมาย โดยทางราชการก็ได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พุทธ-ศักราช 2535 รวมถึงประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 189 ที่ห้ามการขุดค้นในพื้นที่บ้านเชียงและบริเวณโดยรอบ ปัจจุบันชุมชนบ้านเชียง ได้มีขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จึงต้องเร่งกำหนดขอบพื้นที่ที่ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อรักษาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มิให้ถูกทำลายหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญแห่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดต่ออนุชนรุ่นหลังต่อไป





                      
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จาก การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ดังนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้วแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆด้านโดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานวัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวัน-ออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่ง หนึ่งในบรรดามรดกโลก




















    ด้านวัฒนธรรม

 วัฒนธรรมบ้านเชียง จึงนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานนับพันๆ ปี โดยมีการพัฒนาการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้าน รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่เริ่มแรกคือเมื่อประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว รวมทั้งมีการจัดระบบเช่น การฝังศพเป็นประเพณีสืบทอดต่อ ๆ กันมาหลายสมัย นับเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเรื่องการจัดระบบสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เช่น "การผลิตภาชนะดินเผาด้วยฝีมือระดับสูง",การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ" โดยเป็นการประดิษฐ์คิดค้นที่มีวิธีการเป็นของวัฒนธรรมบ้านเชียงเอง มิได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียตามที่เคยเข้าใจกัน

 ด้านเศรษฐกิจ

 ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยบนเนินดินบ้านเชียงเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ปีมาแล้วนั้น เป็นกลุ่มชนที่พัฒนาแล้วมีเทคโนโลยีการทำภาชนะดินเผามีการเลี้ยงสัตว์บางชนิด ได้แก่  วัว  หมู  หมา  และไก่รวมทั้งยังทำการเพาะปลูกข้าวแล้วการเพาะปลูกข้าวของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรกๆที่บ้านเชียงนั้นคงจะเป็นการทำนาหว่านในที่ลุ่มมีน้ำขังต่อมาในสมัยหลังราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วจึงอาจพัฒนามาทำการเพาะปลูกข้าวโดยการทำนาดำในแปลงนาข้าวที่ต้องไถพรวนเตรียมไว้นอกเหนือจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้วคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงยังคงทำการล่าสัตว์ป่าและสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น เก้ง กวาง สมัน เสือ แรด หมูป่า นิ่ม ชะมด พังพอน นาก กระรอก กระต่าย จระเข้ เต่า ตะพาบ กบ ปลาดุก ปลาช่อนและหอยหลายชนิดจากหลักฐานทางด้านโลหกรรมที่บ้านเชียงพบว่าสำริดเป็นโลหะผสมระหว่าทองแดและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติในบริเวณบ้านเชียงดังนั้นช่างสำริดที่บ้านเชียงจึงต้องได้โลหะทั้งสองชนิดนี้มาจากชุมชนอื่นอันแสดงให้เห็นว่าการติดต่แลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างชุมชนอื่นๆที่อยู่ห่างไกลออกไปนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว

 ด้านสังคม

  ร่องรอยของหลุมเสาบ้านที่พบชี้ให้เห็นว่าชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนั้น ประกอบด้วย บ้านใต้ถุนสูงผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลูกร่วมอยู่กันเป็นหมู่บ้านถาวรบนเนินดินสูงที่ล้อมรอบด้วยที่ราบลุ่มในด้านสังคมนี้คงจะมีผู้ชำนาญงานหรือช่างฝีมือในงานเฉพาะด้านบางด้านอยู่ด้วยอย่างน้อยก็พบหลักฐาว่าในระยะแรกมีนายพรานผู้ชำนาญการล่าสัตว์มีช่างทำภาชนะดินเผาและในระยะหลังมีช่างโลหะสำริดและช่างเหล็กเพิ่มขึ้นมาหลุมฝังศพหลายหลุมที่ได้พบว่ามีสิ่งของ เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ ฝังอยู่ด้วยในปริมาณที่ต่างกันรวมทั้งเป็นของที่มีค่าต่าง กันแสดงให้เห็นว่าในสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงน่าจะประกอบด้วย









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กระจาดผลไม้

กระจาดผลไม้         คุณยายทองคาย ถึงปัดชา วัย 73 ปี เป็นคนชุมชน บ้านดงเย็น ต บ้านเชียง อ หนองหาน จ อุดรธานีแต่เดิมคุณยายมีอา...

เอกลักษณ์การแต่งกายคนบ้านเชียง